วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


อียูจะเริ่มใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตรวจคนข้ามชายแดน
คร็อคเก็ทท์ ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี AI ช่วยพัฒนาโปรแกรมตรวจคนข้ามชายเเดนนี้ที่เรียกว่า i-Border-Control นี้ กล่าวว่า โปรแกรมดังกล่าวสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงทางสีหน้าได้ 38 รูปแบบภายในเวลาสั้นๆ สามารถวิเคราะห์น้ำเสียง ตรวจข้อมูลไบโอเมตริกที่รวมถึงเส้นเลือดบนฝ่ามือหรือลายนิ้วมืองานตรวจตราคนเข้าเมืองตามแนวชายเเดนได้กลายเป็นประเด็นร้อนทั่วยุโรป ขณะที่มีคนอพยพเข้าเมืองหลายหมื่นคน ส่วนมากมาจากแอฟริกาเเละตะวันออกกลางพยายามเดินทางเข้าไปในยุโรปในปี 2015 ฮังการีได้สร้างรั้วลวดหนามติดใบมีดโกน หลังเกิดการปะทะที่ชายเเดนที่ติดกับเซอร์เบียอย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตรวจคนข้ามชายเเดนนี้จะไม่นำไปใช้ทดแทนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชายเเดนที่เป็นมนุษย์คร็อคเก็ทท์ กล่าวว่า โปรแกรมตรวจคนข้ามชายแดน i-Border-Control นี้ไม่สามารถตัดสินใจได้อัตโนมัติ แต่จะประเมินความเสี่ยงออกมาเป็นคะเเนนสำหรับนักเดินทางข้ามชายแดนเเต่ละคนโปรแกรมตรวจคนข้ามชายแดนนำร่องนี้ได้รับเงินสนับสนุนโดยโครงการ Horizon 2020 ของสหภาพยุโรป


ไม่ปักธงชาติ

ภารกิจนี้ทำให้อาร์มสตรองกลายเป็นคนดังของโลกแง่มุมชีวิตถูกถ่ายทอดออกมามากมายหนึ่งในนั้นคือ หนังสือชีวประวัติเรื่องเฟิร์สแมน : เดอะ ไลฟ์ ออฟ นีล เอ. อาร์มสตรอง” (First Man : The Life of Neil A. Armstrong) เขียนโดยเจมส์ อาร์. แฮนเซน ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออร์เบิร์นในอเมริกา เพิ่งถูกนำไปดัดแปลงสร้างเป็น ภาพยนตร์ชื่อ เฟิร์ส แมน” (First Man) และได้ไรอัน กอสลิง นักแสดงชาวแคนาดามาสวมบทอาร์มสตรอง มีกำหนดฉายช่วงกลางเดือน ต.ค.ที่จะถึงนี้แต่ล่าสุดก็มีประเด็นให้วิพากษ์วิจารณ์สนั่นโลกโซเชียล หลังจากมีการเปิดเผยว่าในหนัง เฟิร์ส แมนจะไม่มีฉากปักธงชาติสหรัฐฯ เรื่องนี้ขยายไปถึงวงการเมืองจนเกิดวาทะเผ็ดร้อนจากวุฒิสมาชิก มาร์โค รูบิโอ เขียนลงทวิตเตอร์ว่า นี่เป็นเรื่องเสียสติที่สุดและเรียกหนังเรื่องนี้ว่า “Total Lunacy” ส่วนผู้ใช้งานทวิตเตอร์ อื่นๆ ก็ติดแฮชแท็ก #BoycottFirstMan #BoycottFirstManMovie หรือแม้แต่ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ก็ยังให้สัมภาษณ์ผ่าเดอะ เดลี่ คอลเลอร์ สื่อในวอชิงตัน ดี.ซี. ว่า คงจะไม่ดูหนังเรื่องนี้ด้วยเหตุผลว่า เมื่อนึกถึงนีล อาร์มสตรอง ก็ต้องนึกถึงการลงจอดยานบนดวงจันทร์และธงชาติอเมริกัน แต่ดูเหมือนว่าคนทำหนังจะอายที่ความสำเร็จมาจากอเมริกาผู้ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ หรือคนในครอบครัวอาร์มสตรองก็เผยว่า หนังเรื่อง เฟิร์ส แมนไม่ได้ต่อต้านความเป็นอเมริกัน แต่เน้นสะท้อนความเป็นนีล อาร์มสตรอง อย่างแท้จริง ทั้งการฝ่าฟันอุปสรรค การฝึก ชีวิตครอบครัว ที่สำคัญคือ การแบกรับความหวังจากคนทั่วโลกที่เฝ้าดูภารกิจบนดวงจันทร์ของเขาด้านไรอัน กอสลิง ก็ออกมาปกป้องหนังว่า การไปเหยียบดวงจันทร์นั้นเป็นความสำเร็จของมนุษยชาติ ไม่ใช่เฉพาะสหรัฐอเมริกาเท่านั้น และเขาก็เชื่อว่า นีล อาร์มสตรอง ไม่ได้มองว่า ตัวเองเป็นวีรบุรุษอเมริกัน

เปิดโฉม เทคโนโลยีซักได้เพื่อคนรักแฟชั่นและชอบผลิตภัณฑ์ไฮเทค


 เทคโนโลยีที่สวมได้ หรือ wearable technology เป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวางในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดน่าจะเป็น นาฬิกาสมาร์ทว็อทช์ ที่กลายเป็นสินค้าที่พบเห็นทั่วไปภายในเวลาไม่กี่ปีล่าสุด wearable technology กำลังเข้าสู่ยุคของการพัฒนาเสื้อผ้า ที่มีระบบปฏิบัติการเหมือนกับว่าเรากำลังสวมใส่คอมพิวเตอร์อยู่โครงการหนึ่งที่สะท้อนถึงเทคโนโลยีล่าสุดนี้ คือความร่วมมือระหว่างบริษัท Google และบริษัทเสื้อผ้า Levi’s ของสหรัฐฯคุณไอวาน ปูพิเรพ (Ivan Poupyrev) จาก Google กล่าวว่า เสื้อแจคเก็ตที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยโครงการร่วมดังกล่าวสามารถส่งสัญญาณสั่น และสัญญาณแสง เตือนผู้สวมใส่เมื่อมีสายเรียกเข้า นอกจากนั้น เมื่อผู้ใส่เสื้อ ลูบไปที่ผ้าบริเวณปลายแขน ระบบสามารถบอกถึงเส้นทางการเดินทาง และเปิดเพลง เมื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้เขากล่าวว่า การเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับเสื้อผ้าที่สวมใส่ทำให้ผู้ที่เดินทางไม่จำเป็นต้องละสายตาไปจากถนนที่อยู่ตรงหน้าและเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า นักประดิษฐ์จึงเรียกนวัตกรรมเหล่านี้ว่าอยู่ในกลุ่ม washable technology หรือ เทคโนโลยีซักได้


วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561

 เว็บไซด์นี้จัดทำขึ้น
       เพื่อสะสมผลงาน





ในภาพอาจจะมี 2 คน, คนที่ยิ้ม